สวัสดีค่ะ โพสต์นี้ จะเป็นการแชร์ประสบการณ์การตั้งครรภ์ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของบีนะคะ ซึ่งจะเป็นช่วงอาทิตย์ที่ 13-27 นั่นเองค่ะ
ก่อนอื่นเลย ถ้าใครยังไม่ได้อ่านประสบการณ์การตั้งครรภ์ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของบี สามารถเข้าไปอ่านกันได้เลยที่ลิงค์นี้ค่ะ >>> https://beesjourney.com2020/09/my-pregnancy-journey-1st-trimester/
ช่วงไตรมาสที่ 2 นี้เป็นช่วงการตั้งครรภ์ที่คุณแม่หลาย ๆ คนจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นช่วงเวลาทองของการตั้งครรภ์ที่รู้สึกดีและมีความสุขที่สุด ด้วยเหตุผลหลาย ๆ ประการ เช่น
- อาการแพ้ท้อง เริ่มค่อย ๆ หายไป
- รู้สึกมีพลังมากขึ้น สดชื่น กระปรี้กระเปร่า ไม่เหนื่อย ไม่เพลีย บางคนถึงขนาดอยากออกกำลังกายแบบลุย ๆ
- ในครึ่งไตรมาสที่สอง Baby Bump จะเริ่มเด้งออกมาอย่างชัดเจน ทำให้คนอื่นมองเห็นละว่าเราท้อง ไม่ใช่ว่าเราอ้วน บวม อืดหรือพุงใหญ่ 555
โอเคค่ะ มาดูกันนะคะว่า ใน ช่วงไตรมาสที่ 2 หรือระหว่างสัปดาห์ที่ 13-27 นั้น ในการตั้งครรภ์ของบีนั้นมีพัฒนาการ ความคืบหน้า และปัญหาอะไรบ้างค่ะ
ช่วงไตรมาสที่ 2 นี้ บีรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่ามาก ในอาทิตย์ที่ 13-14 บีมาอยู่หัวหิน 5-6 วัน ทุก ๆ เย็นจะลงไปเดินที่ชายหาดวันละประมาณ 5-6 กิโลเมตร หรือประมาณ 1.30 ชั่วโมงไม่หยุดเลย
Above: Me @ 13 weeks pregnant!
ทั้งนี้ทั้งนั้น แม่ ๆ ทุกคนต้องดูตามสภาพร่างกายของตัวเองนะคะ ปกติบีเป็นคน active มากอยู่แล้ว เดินเยอะ เล่นกีฬา extreme sports ติด ๆ กันหลายวันได้โดยไม่ต้องพักอยู่แล้ว การเดินเยอะ ๆ แบบนี้จึงไม่ถือว่าหักโหมมากสำหรับบีค่ะ
การเดินออกกำลังกาย ทำให้บีนอนหลับสนิทมาก และตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำเพียงแค่คืนละ 2-3 ครั้งเท่านั้นเอง! อย่างไรก็ตาม หลักจานเดินเยอะ ๆ บีก็เริ่มมีอาการไม่พึงประสงค์ 2 อย่าง แต่ถือว่าเป็นอาการปกติของคนท้อง (ถึงแม้ใครจะไม่เดิน จะอยู่เฉย ๆ ก็มีอาการแบบนี้ได้ค่ะ)
Round Ligament Pain การปวดบริเวณด้านซ้ายขวาของท้องน้อยด้านล่าง
- Round Ligament Pain หรือ การปวดบริเวณด้านซ้ายขวาของท้องน้อยด้านล่าง เป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการที่เอ็นยึดมดลูกนั้นตึงเกินไป อาการนี้อาจจะเกิดจากการที่มดลูกขยายตัวอย่างรวดเร็ว หรือจากการที่เดินเยอะ ยกของหนัก ในขณะที่มดลูกค่อย ๆ ขยายตัวตามอายุครรภ์ ซึ่ง Round Ligament Pain นี้ไม่ได้ถือว่าเป็นอาหารผิดปกติที่น่าเป็นห่วงค่ะ จริง ๆ คือเป็นอาการเจ็บที่ common หรือเกิดขึ้นมากที่สุดในเหล่าว่าที่คุณแม่เลยค่ะ
อาการ Round Ligament Pain ของบี จะไม่ได้เจ็บตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน จะเจ็บตอนเปลี่ยนท่า เช่น จากนอนขึ้นมาเป็นนั่ง หรือตอนยืนแล้วมีการหันตัว เอี้ยวตัว และเจ็บอยู่ไม่กี่วันค่ะ ไม่มีวิธีแก้ให้หายขาดนะคะ แค่บรรเทาได้ด้วยการพักไม่ใช้งานร่างกายหักโหมหรือเคลื่อนไหวเร็วเกินไปค่ะ
2. Spider Veins / Varicose Veins หรือ อาการเส้นเลือดขอด อาการนี้เกิดขึ้นมาจากการที่ Blood Volume หรือ ปริมาตรเลือดในร่างกายนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะครรภ์ค่ะ
อาการ Varicose Veins มีหลายระดับ และส่วนใหญ่จะเป็นมาก ๆ ในคุณแม่ที่มีน้ำหนักตัวเยอะ หรือคุณแม่ที่ยืนนาน ๆ ทั้งวัน เดินเยอะ ๆ และยกของหนัก ๆ บ่อย ๆ ลองดูภาพด้านล่างนี้ Stage 1 และ 2 ไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่ ถ้า Stage 3 คือต้องเริ่มระวังมาก ๆ และถ้าใครเป็น Stage 4 หรือ 5 คืออาการหนักแล้ว ควรรีบพบแพทย์และรักษานะคะ
สำหรับบี พื้นฐานเป็นคนน้ำหนักไม่สูงอยู่แล้ว และตั้งแต่ตั้งครรภ์มา น้ำหนักแทบไม่ขึ้นเลย (แม้ว่าจะกินเยอะมากก็ตาม) จึงไม่ได้เป็นมาก ไม่ขึ้นถึง Stage 1 และจะเห็นแค่ช่วงที่ยื่นหรือเดินมาก ๆ ตอนนอนตื่นเช้าใหม่ ๆ จะแทบไม่เห็นเลยค่ะ
แต่อย่างไรก็ตาม คุณหมอแนะนำให้ใส่ถุงน่องกัน/บรรเทาอาการเส้นเลือดขอดไว้เลย เพราะตามธรรมชาติคนตั้งครรภ์คือยิ่งครรภ์อายุมากขึ้น เราน้ำหนักตัวมากขึ้นและ blood volume เยอะขึ้น จะมีอาการเส้นเลือดขอดมากขึ้นค่ะ ถุงน่องที่บีใส่คือของ Tubigrip แบบ Full Leg ค่ะ
Tubigrip ซื้อได้ตาม Shopee, Lazada ฯลฯ นะคะ เวลาถอดใส่มันจะแน่นมาาาาากกกกกก ต้องให้คุณสามีช่วยดึงค่ะ แต่ใส่แล้วสำหรับบีคือช่วยได้มาก เส้นเลือดขอดน้อยลด และขากับเท้าไม่รู้สึกบวม ๆ เต่ง ๆ ด้วยค่ะ
19th May 2020: 13weeks 4 days | ผลตรวจ NIPT Test
หลังจากที่บีตรวจ NIPT Test ไปเมื่อไม่ถึง 2 อาทิตย์ก่อน วันนี้บีได้รับสายจากคุณหมอค่ะ 🙂
คุณหมอโทรมาแจ้งว่า baby ตัวเล็ก ไม่มีความผิดปกติของโครโมโซมนะคะ และแจ้งว่าบีและ Daddy Ben ได้ลูกสาวค่ะ 😀 ดีใจมาก ๆ เลย
20th June 2020: 18weeks 1 days | First solid baby kick! ลูกเตะอย่างชัดเจนวันแรก
หลังจากที่หน้าท้องบีไม่แสดงวี่แววของ baby เลยมาเกือบ 5 เดือนแล้ว อยู่ดี ๆ ตื่นขึ้นมาวันนึง ซึ่งเป็นวันที่เริ่มต้น week 18 พอดี baby bump ก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเลย งงมากค่ะ และตั้งแต่วันนั้นบีก็ไม่สามารถนอนคว่ำได้แล้ว!!! และหลังจากนั้น baby bump ก็ค่อย ๆ โตขึ้นอย่างเห็นได้ชัดด้วยค่ะ
1st July 2020: 20 weeks: Gestational Diabetes Test | การตรวจเบาหวานในครรภ์
วันนี้มาตรวจครรภ์ตามที่คุณหมอนัดตามปกติ หัวใจเบบี้เต้น 150 bpm ค่ะ
Test นึงที่คุณแม่ทุก ๆ คนต้องทำ คือ Gestational Diabetes Test หรือ Glucose Test ซึ่งเป็นการตรวจความเสี่ยงการเป็นเบาหวานในครรภ์ค่ะ
Glucose Test นี้จะมีการตรวจแบบ 2 ระดับ แบบ standard และแบบ detailed ข้อแต่แตกต่างของ test 2 ระดับนี้มีอะไรบ้าง มาดูกันด้านล่างค่ะ
แบบ standard
- ไม่ต้องอดอาหารก่อนตรวจ แต่คุณหมอบางท่านจะแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทานแป้งและน้ำตาลตอนทานอาหารเช้าก่อนตรวจ (ของบีให้ทานได้ตามปรกติค่ะ)
- ดื่มน้ำหวานที่มีน้ำตาล Glucose 50g
- เจาะเลือดหลังการดื่ม glucose 1 ชั่วโมง
แบบ detailed (ละเอียด)
- ให้อดอาหารและเครื่องดื่มก่อนตรวจอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ถ้าคอแห้งมาก ๆ จริง ๆ อนุโลมให้จิบน้ำได้บ้าง
- ดื่มน้ำหวานที่มีน้ำตาล Glucose 75g (เห็นบางที่ เช่น ต่างประเทศ เป็น 100g)
- เจาะเลือด 3 ครั้ง คือ ก่อนดื่ม Glucose ทันที หลังดื่ม Glucose 1 ชั่วโมง และหลังดื่ม Gluecose 2 ชั่วโมง
Bee’s Journeys Tips – เอามะนาวติดตัวไปบีบใส่น้ำหวาน Glucose ด้วยจะทำให้ดื่มง่ายขึ้น ไม่หวานแสบคอ แต่ต้องให้คุณพยาบาลให้ไฟเขียวด้วยนะคะ
สำหรับบี บีตรวจ Standard Glucose Test ตอน week ที่ 20 ค่ะ โดยดื่มน้ำหวานที่มีน้ำตาล Glucose 50g
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาล fasting หรือหลังอดอาหารในเลือด ควรจะต่ำกว่า 96 mg/ml และ ต่ำกว่า 120 mg/ml หลังการทานอาหารค่ะ ผลตรวจของบี ออกมาได้ 115 mg/ml ซึ่งถือว่าดีมากค่ะ คุณหมอยกนิ้วให้เลยเพราะเป็นการตรวจหลังทาน Glucose เข้าไปตั้ง 50g แหน่ะ
บีแปะข้อมูลเกี่ยวกับค่า Glucose ในเลือดที่ปกติ/ไม่ปกติในการทำ test นี้ในสตรีตั้งครรภ์ให้ดูกันนะคะ
นอกจากนั้น คุณหมอก็ได้ตรวจระดับ Vitamin D ในเลือดของบีด้วย คราวนี้ขึ้นมาแล้วถึง 50 mg/ml เลย ซึ่งถือว่าเยี่ยมยอดแล้ว หายห่วงแล้ว แต่ยังคงต้องทาน Vit D อาทิตย์ละ 3 x 10,000 IU ต่อไปตลอดการตั้งครรภ์ค่ะ
15st July 2020: 21 Weeks 6 Days | 4th Ultrasound: Full Anatomy Scan
Ultrasound
วันนี้คุณหมอได้ส่งให้บีทำ Full Anatomy Ultrasound Scan หรือการทำ Ultrasound ดูอวัยวะภายในร่างกายของ Baby ตัวเล็กอย่างละเอียด จึงถือว่าเป็นการ Ultrasound ครั้งที่สำคัญมาก ๆ ของการตั้งครรภ์ค่ะ
คุณหมอเทวินทร์ เป็นผู้เชึ่ยวชาญทางด้าน Anatal Scan โดยเฉพาะ จัดการ scan ทุกอวัยวะสำคัญและให้คำอธิบายอย่างละเอียดเลย โดยสำหรับ week นี้จะบ่งได้ขั้นต้นอย่างค่อนข้างแม่นยำแล้วว่า อวัยวะแต่ละอวัยวะ ปกติตามเกณฑ์ไม๊ ขนาดคร่าว ๆ กว่างยาวเท่าไหร่บ้าง มีอะไรควรเป็นห่วงไม๊ ฯลฯ เรียกว่าตื่นเต้นและลุ้นกันสนุกดีค่ะ
และที่สำคัญ บีและคุณเบนก็ได้เห็นหน้าเบบี้ตัวเล็กอย่างชัด ๆ แล้ว! เย้!
!!! Bed Rest – ตรวจพบเจอภาวะมดลูกบีบตัวผิดปรกติ !!!
หลังจากที่บีทำ Ultrasound เสร็จ บีก็มาพบคุณหมอดูแลครรภ์ของบีตามนัดปกติ ปรากฎว่าตอนขึ้นเตียง คุณหมอลองจับ ๆ ท้องดู ปรากฎว่าคุณหมอแจ้งว่ามดลูกมีการบีบตัวแบบผิดปรกติ คล้าย ๆ กับตอนที่ใกล้จะคลอด โดยอาการคือท้องทั้งท้องจะหดตัวและแข็งขึ้นมาเป็นก้อนกลม ๆ เท่ากันทั้งท้อง เหมือนเป็นลูกบอลแข็ง ๆ เลยค่ะ
ซึ่งจริง ๆ ที่ผ่านมาหลายอาทิตย์ บีก็รู้สึกว่าท้องบางทีมีเกร็ง ๆ แข็ง ๆ ตึง ๆ ขึ้นมาแบบนี้ แต่ไม่รู้สึกเจ็บ หรือปวดเลยนะคะ แค่รู้สึกว่าท้องหนัก ๆ หน่วง ๆ และแข็งมาก ซึ่งบีก็ไม่ทราบว่ามันคือภาวะผิดปกติ นึกว่าเป็นของปกติของการตั้งครรภ์ คุณหมอรีบบอกว่าต้องระวังมาก ๆ เพราะถ้าบีบแบบนี้บ่อย ๆ อาจจะทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ จึงออกคำสั่งห้ามบีเดินหรือออกกำลังกายเด็ดขาด ถ้าจะไปไหนต้องให้นั่งรถเข็นเท่านั้น และให้ยามา 2 อย่างค่ะ
- ยาเหน็บ Utrogestan 200mg มาสอดวันละ 2 เม็ดตอนเช้าและก่อนนอนทุกคืน ยานี้จะช่วยให้ปากมดลูกปิดสนิท ป้องกันไม่ให้นุ่ม บางตัวและเปิดค่ะ
- ยาทาน Nelapine 100mg มาทานวันละ 3 เวลา ยาตัวนี้จะช่วยยับยั้งการบีบตัวของมดลูกค่ะ
นอกจากนี้ ใน 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา น้ำหนักบีเพิ่มขึ้น 1.5kg ซึ่งถือว่าเยอะสำหรับบี เพราะตั้งแต่ที่ตั้งท้องมาทั้งหมด 5 อาทิตย์กว่า ขึ้นมาทั้งหมดรวมไม่ถึง 2kg คุณหมอเลยจัดให้ตรวจ Detailed Gestational Diabetes Test เวลามาพบคุณหมอคราวหน้าค่ะ
30th July 2020: 23 Weeks 6 Days – Baby Best Buy Expo @ IMPACT
Weekend นี้ มีงาน Baby Best Buy ที่ IMPACT เมืองทองธานี ซึ่งเป็นงานที่มีสินค้าเกี่ยวกับแม่และเด็กดี ๆ หลายแบรนด์มาก ๆ มาออกบู๊ท ขายของพร้อม Promotion แรง ๆ เยอะมาก บีเลยรีบไปกับคุณสามีตั้งแต่วันแรกเลย โดยมีลูกพี่ลูกน้องคนสวย น้องโอบอุ้ม เจ้าของ Obeoom X Lifestyle บล๊อก พาไปดูของค่ะ โดยน้องอุ้มเป็นคุณแม่มือโปร ใช้ของมาหลายแบรนด์มาก และได้แนะนำของให้บีเยอะมากค่ะ
บีจะเดินดูของหลาย ๆ อย่างจากหลาย ๆ แบรนด์ที่ชอบ และส่วนใหญ่บีกลับมาซื้อทาง online เพราะจะได้มีเวลา research เปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพวัตถุดิบ ความคงทน ฯลฯ และอ่านรีวิวจากหลาย ๆ ที่ก่อน แต่สิ่งที่คุณสามีซื้อให้จากงานนั้นเลยคือ หมอนรองครรภ์ของ Glowy Star ค่ะ
Pregnancy Pillow หรือหมอนรองครรภ์นั้น สำคัญมาาาาากกกก เป็นสิ่งที่ทำให้การนอนและการพักผ่อนของคุณแม่สบายขึ้นเยอะหลายเท่าตัว และหลังจากคลอดแล้วยังสามารถใช้ต่อได้ทั้งสำหรับการพักผ่อนของคุณแม่และช่วงเวลาให้นมลูกค่ะ
หมอนรองครรภ์ มีหลายรูปแบบ ของบีเป็นแบบตัว U หรือแบบ Full Body ทางขวาตามรูปด้านล่างค่ะ
Screen caption from YouTube. Full vid: https://glowystar.com/th/articles/6856-glowy-full-body-pillow
ถ้าใครสนใจ กดสั่งซื้อได้เลยที่ลิงค์นี้นะคะ >>> https://bit.ly/3m05JHt
ถ้าอยากดูข้อมูลเพิ่มเติมและรูปสินค้าต่าง ๆ จากงาน Baby Best Buy ลองเข้าไปดูในอีกบล๊อกนึงบีที่บีทำกับคุณสามีได้ที่นี่นะคะ >>> งาน Baby Best Buy
31th July 2020: 24 Weeks – Detailed Gestational Diabetes Test | การตรวจเบาหวานในครรภ์ (แบบละเอียด)
เช้านี้มาถึงโรงพยาบาลอย่างหิวโหย เพราะต้องอดอาหารตั้งแต่ก่อนเที่ยงคืนคืนก่อน
พอถึงโรงพยาบาลปุ๊บ ตอน 8.30am ก็เจาะเลือกครั้งที่ 1 และดื่มน้ำผสม Glucose 75g ตามทันที
จากนั้นก็เจาะเลือดอีก 2 ครั้ง คือตอน 9.30am และ 10.30am โดยที่ระหว่างนั้น ห้ามทานอะไรเลย และห้ามดื่มน้ำด้วย (จิบ ๆ ก็ไม่ได้ค่ะ)
หลังจากเจาะเลือดครั้งที่ 3 ตอน 10.30am แล้ว บีก็รีบไปกินข้าวเลย จากนั้นก็พบคุณหมอ ผลตรวจเบาหวานในครรภ์ครั้งนี้ก็ออกมาพอดี ผลคือดีมาก Fasting Glucose Level อยู่ที่ 85 mg/ml เองค่ะ คุณหมอยกนิ้วให้อีกที บอกไม่ห่วงแล้วค่ะ 🙂
อ้ะ แปะข้อมูลเกี่ยวกับค่า Glucose ในเลือดที่ปกติ/ไม่ปกติในการทำ test นี้ในสตรีตั้งครรภ์ให้ดูกันอีกครั้งค่ะ
11th Aug 2020: 25 Weeks 4 Day – Ultrasound เพิ่มเติม เนื่องจากมดลูกบีบตัวบ่อย
ตั้งแต่พบคุณหมอรัตนาภรณ์คราวก่อน และที่คุณหมอให้ยา Utrogestan มาเหน็บวันละเม็ดแล้ว อาการท้องแข็งและมดลูกบีบตัวยังเกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ คุณหมอเลยขอนัดให้เข้ามาตรวจ Ultrasound กับคุณหมอเทวินทร์เพิ่มเติมอีกครั้ง ผลตรวจตามด้านล่างค่ะ
- ปากมดลูกยาว 3.68cm ซึ่งถือว่ายาวดี และปิดแน่นหนาอยู่ ไม่น่าเป็นห่วงค่ะ (แต่ไม่ได้หมายความว่าบีไม่มีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด ยังคงต้องระวังและไม่เดินเยอะตลอดการตั้งครรภ์)
- น้ำหนัก baby ตัวเล็กอยู่ที่ 907g (คาดว่าถ้าคลอดตอน week 40 น้ำหนัก baby จะประมาณ 3.75kg)
- ขนาด baby วัดได้เทียบเท่ากับ baby ที่มีอายุ 26 weeks 3 days และเท่ากับ 67 Percentile ตามการวัด Hadock Formular (สำหรับชาวตะวันตกหรือ Caucasion) ตรงนี้หมายความว่า ถ้านำเด็ก Baby ของขาวตะวันตกมาวางเรียงกัน 100 baby ลูกของบี จะมีความใหญ่อยู่ที่อันดับ 67 (โดยที่ 100 คือใหญ่สุด และ 1 คือเล็กสุด)
นอกจากนี้ คุณหมอรัตนาภรณ์ได้ให้ยาเพิ่ม ดังนี้
- ยาเหน็บ Utrogestan 200mg จากวันละ 1 เม็ด เพิ่มเป็นวันละ 2 เม็ดตอนเช้าและก่อนนอนทุกคืน ยานี้จะช่วยให้ปากมดลูกปิดสนิท ป้องกันไม่ให้นุ่ม บางตัวและเปิดค่ะ
- ยาทาน Nelapine 100mg มาทานวันละ 3 เวลา ยาตัวนี้จะช่วยยับยั้งการบีบตัวของมดลูกค่ะ ยานี้อาจมีผลข้างเคียงทำให้ใจสั่นได้ในบางคน แต่สำหรับบี ไม่รู้สึกถึงผลข้างเคียงค่ะ
21th Aug 2020: 27 Weeks – ปิดท้าย 2nd Trimester ด้วยการหนีคุณหมอ แอบมาเที่ยวหัวหิน 😛
ด้วยความที่บีสบายใจมากขึ้นหลังจากได้ Ultrasound คราวก่อน และได้ยามาเยอะมาก คุณพ่อคุณแม่และสามีเลยพาบีมาพักที่หัวหิน 5-6 วัน โดยข้อแม้คือ ต้องให้บีเดินน้อยที่สุด ออกไปนั่งสูดอากาศที่ชายทะเลหน้าคอนโดได้ แต่ไม่ให้ออกไปเที่ยวกินเที่ยวทำอะไรที่ไหนข้างนอกเลย
ทริปนี้ จึงเป็นทริปสุดท้ายของบีในช่วงเวลาที่บีตั้งครรภ์ทั้งหมดค่ะ
และเย็นวันสุดท้ายก่อนกลับกรุงเทพฯ บีก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า เอ๊ะ ตอนนี้เราตั้งครรภ์ รู้สึกดี และรู้สึกว่าร่างกายของมนุษย์แม่นี่มันมหัศจรรย์จริง ๆ อยู่ดี ๆ เลยขอคุณสามีว่า ช่วยมาถ่ายรูป photoshoot ที่ชายหาดให้หน่อย ถือว่าเป็น Maternity Shoot ไปเลยก็แล้วกัน รูปที่ได้ออกมาก็ตามด้านล่างนี้ค่ะ 🙂
ถ้าใครยังไม่เคยอ่าน blog post เกี่ยวกับไตรมาสแรกของบี คลิ๊กอ่านที่นี่ได้เลยค่ะ >>> My Pregnancy Journey – 1st Trimester | แชร์ประสบการณ์การตั้งครรภ์ครั้งแรก ไตรมาสที่ 1
รอติดตามโพสต์ต่อไป My Pregnancy Journey – 3rd Trimester | การตั้งครรภ์ครั้งแรก ไตรมาสที่ 3 ของ Mama Bee กันนะคะ อย่าลืม subscribe blog หรือ Follow บน FB IG จะได้ไม่พลาดกันนะคะ
Mama Bee’s Journey | Motherhood & Well-being Blog Facebook Page: https://www.facebook.com/BeeXoomsai
Mama Bee’s Journey Instagram: http://instagram.com/beexoomsai
Bee Xoomsai
Bee’s Journey